22 มิถุนายน 2553
ความหมายของคอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รับข้อมูล หรือรับคำสั่ง แล้วนำข้อมูลคำสั่งต่างๆไป เก็บบันทึก ไว้ในหน่วยความจำ และประมวลผลข้อมูลโดยการคำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามคำสั่ง จากนั้นจึงแสดงผลข้อมูลออกมาให้เห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลคำสั่ง และผลที่ได้จากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บบันทึกไว้ได้อย่างถาวร นำมาใช้หรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนาได้อย่างไม่จำกัด
Computer มาจากคำว่า Compute ซึ่งแปลว่า คำนวณ ดังนั้นคำว่า Computer จึงแปลตามความหมายของคำได้ว่า "นักคำนวณ"
ระบบของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยที่ทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่
1. หน่วยรับข้อมูล (input)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit หรือ CPU)
3. หน่วยแสดงผล (output)
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit)
1 หน่วยรับข้อมูลเข้า(input)
ทำหน้าที่รับข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้เครื่องป้อนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง อาจป้อนได้หลายวิธี เช่น บัตรเจาะรู บัตรระบาย สัญญาณจากเทปแม่เหล็ก สัญญาณจากแป้นพิมพ์ (keyboard) เม้าส์ (Mouse) Scanner หรือแม้แต่สัญญาณจากเสียงพูด
2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) )
เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูลมาจากหน่วยรัยข้อมูลคำสั่ง มาทำการประมวลผลตามคำสั่ง แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกไปที่หน่วยความจำเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยแสดงผล หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนย่อยที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Contorl Unit) หน่วยคำนวณ และตรรก (Arithmetic and Logic Unit) และหน่วยความจำ (Memory หรือ Storage Unit)
หน่วยความจำ หรือหน่วยเก็บข้อมูลหลัก เป็นส่วนที่จะเก็บคำสั่งโปรแกรม และข้อมูลที่ต้องใช้ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สร้างมาพร้อมกับเครื่องโดยจะเก็บคำสั่งเฉพาะงาน และคำสั่งที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำเอาไว้ ความจำนี้จะอ่านได้อย่างเดียว ไม่อาจไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และเป็นความจำที่มีอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องคำสั่งนี้ก็จะไม่หายหรือถูกลบไป
แรม (RAM :Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และคำสั่งขณะที่เครื่องทำงาน ส่วนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ได้ตลอดเวลาในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องแล้ว ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในส่วนนี้จะหายไป โดยปกติ ขนาดของ RAM จะใช้อ้างถึงขนาดความจำของคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันออกไป หน่วยความจำชนิดนี้บางครั้งก็เรียกว่า Read Write Memory หมายความว่า สามารถทั้งอ่าน และบันทึกได้ ขนาดของแรมเรียกเป็น
ไบท์(byte) เช่น 64 Kbytes 4 Mbytes1 bytes = 1 ตัวอักษร 64 Kbytes จึงเท่ากับ 64 x 1,024 = 65,536 ตัวอักษร
3 หน่วยแสดงผล (output unit)
ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้ จากหน่วยความจำมาแสดงตามที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์ แสดงผล ได้แก่ จอภาพ Printer Plotter ฯลฯ ซึ่งถือว่าจอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน อุปกรณ์แสดงผลที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องพิมพ์ และยังมีอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานใด
4 หน่วยความจำสำรอง (secondary storage) หน่วยความจำนี้เปรียบเสมือนสมุดบันทึกสำหรับเก็บโปรแกรม และข้อมูลเพื่อไว้ใช้ในโอกาสต่อไป หน่วยความจำหลักที่กล่าวมาแล้วนั้น มีขีดจำกัดในการเก็บข้อมูล แต่มีข้อดีตรงเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การอ่าน และบันทึกโปรแกรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่การใช้คอมพิวเตอร์ ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากเกินกว่าจะบรรจุไว้ในหน่วยความจำหลักได้ จึงจำเป็นต้องเก็บโปรแกรม และข้อมูลไว้ในหน่วยความจำสำรอง อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำประเภทนี้ ได้แก่ แผ่นบันทึกข้อมูล (diskette) เทปแม่เหล็ก(magnetic tap)
ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
1 ตัวเครื่อง
เป็นกล่องที่บรรจุหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) disk) ที่ด้านหน้าตัวเครื่องจะมีช่องสำหรับสอดใส่แผ่นดิสก์ เรียกว่าดิสก์ไดรฟ์ (disk drive) เครื่องโดยทั่วไปจะมีช่องที่ใช้กับแผ่นดิสก์ 1-2 ช่อง ช่องแรกเรียกว่าช่อง A: อีกช่องที่เหลือเรียกว่าช่อง B: บางเครื่องจะมีจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลได้มากอยู่ในตัวเครื่องเอาไว้เรียบร้อย เรียกว่าฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) หรือช่อง C: เครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์อยู่ในตัวจึงสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลงในฮาร์ดดิสก์ได้โดยไม่ต้องใช้แผ่น Floppy disk ก็ได้
2 แป้นพิมพ์ (key board)
เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลเข้าสู่ CPU โดยการกดแป้นพิมพ์ คล้ายกับการพิมพ์ดีด แต่ที่แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์จะมีปุ่มแป้นพิมพ์สำหรับพิมพ์อักขระต่างๆ และควบคุมการทำงานของระบบ มากกว่าพิมพ์ดีด
3 จอภาพ (Monitor)
ทำหน้าที่แสดงผล ให้เห็นได้ทันทีทันใด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหลักที่ขาดไม่ได้ มีอยู่หลายแบบ เช่น จอ monochrome จอ mono VGA จอสี เช่น CGA EGA โปรแกรมต่างๆ ที่นำมาใช้ จะสามารถใช้ได้หรือไม่ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของจอภาพด้วย หากจอภาพไม่ตรงกับที่โปรแกรมกำหนดก็ไม่สามารถใช้ได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกตามขนาดของเครื่อง
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และมีความสลับซับซ้อน
2. เมนเฟรม (mainframe) เป็นขนาดรองลงมา มีแผงควบคุมและอุปกรณ์อื่นๆ สนับสนุน เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก และมีสายเคเบิลต่อถึงกัน ปัจจุบันมีใช้อยู่ในประเทศไทยหลายแห่ง เช่น ตามธนาคารต่างๆ
3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) เป็นขนาดรองลงมาจากเมนเฟรม มีใช้กันตามหน่วยงานขนาดกลาง
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer) หรืออาจเรียกว่า home computer ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบตั้งโต๊ะ และแบบกระเป๋าหิ้ว
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Solftware)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงชุดคำสั่งที่ ผู้เขียนโปรแกรม(Programer) เขียนขึ้นเพื่อป้อนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System Program) เป็นโปรแกรมสำหรับจัดระบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ให้สภาพที่พร้อมจะใช้งาน หรือใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้กันมาก มีอยู่ 2 โปรแกรม คือ โปรแกรม DOS (Disk Operating System) และโปรแกรม WINDOWS
การใช้งานโปรแกรมต่างๆ บน DOS โดยทั่วไป ผู้ใช้จะต้องป้อนคำสั่งทาง Keyboard โดยพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ต่างๆเข้าไป คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานได้ ดังนั่นผู้ใช้จำเป็นต้องรู้คำสั่ง และความหมายของคำสั่งต่างๆ ที่จะป้อนเข้าไป ส่วนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ บน WINDOWS จะใช้รูปภาพและสัญลักษณ์ เป็นตัวสื่อความหมาย การใช้งาน ผู้ใช้เพียงแต่ เลื่อน Mouse ไปยังตำหแน่งรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกให้เกิดการทำงานต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องป้อนคำสั่งทาง Keyboard ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่สะดวกสบายมาก เด็กหรือผู้อ่านหนังไม่ออกก็สามารถใช้งานได้
2 โปรแกรมใช้งานหรือโปรแกรมประยุกต์ ( Application Program) เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะต่างๆได้ โปรแกรมประเภทนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมาก จำแนกตามลักษณะงานได้ดังนี้
2.1 โปรแกรมประมวลคำ(Word Processing) ได้แก่โปรแกรมสำหรับการพิมพ์ หนังสือหรือเอกสารต่างๆ เช่น เวิร์ดจุฬา ( CW ) เวิร์ดราชวิถี ( RW ) Microsoft Word Amipro เป็นต้น
2.2 โปรแกรมฐานข้อมูล (Database) ได้แก่โปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูล ในลักษณะที่เป็นระเบียนบันทึกรายการจำนวนมากๆ ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับ วัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น โปรแกรม Dbase III Plus Foxbase Foxpro เป็นต้น
2.3 โปรแกรมกระดาษทำการ(Spread Sheet) ได้แก่โปรแกรมสำหรับ บันทึกรายการในลักษณะเป็นตาราง ที่สามารถคำนวณรายการ และโยกย้ายเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น โปรแกรม Lotus Exell เป็นต้น
2.4 โปรแกรมกราฟิค (Graphic) สำหรับการออกแบบ เขียนแบบ เขียนภาพ สร้างภาพต่างๆ เช่น โปรแกรม 3D Corell Draw เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น